สัญญาฝากทรัพย์ - pp


       สัญญาฝากทรัพย์

                  สัญญาฝากทรัพย์เป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง  มีบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพที่  3  ลักษณะที่ 10  ตั้งแต่มาตรา 657 ถึงมาตรา 679 รวมทั้งสิ้น 23 มาตรา


       หลักสำคัญของสัญญาฝากทรัพย์  (ม. 657, 658) มีดังนี้

       1.  เป็นสัญญาที่ต้องมีความสมบูรณ์ตามหลักนิติกรรม

       2.  เป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน 

                       คำพิพากษาฎีกาที่  401/2491  เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือน โดยอ้างว่าฝากจำเลยไว้  จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ขายให้จำเลย  ขอให้โอนทะเบียนมิฉะนั้นก็ขอให้คืนราคาที่ได้ชำระไปแล้ว  กับให้ใช้ค่าซ่อมแซมเรือนที่จำเลยออกเงินซ่อมไป ดังนี้  เมื่อการพิจารณาได้ความว่า  โจทก์ได้ฝากเรือนไว้กับจำเลยและจำเลยเสียค่าซ่อมแซมไปจริง  ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแต่ให้โจทก์ใช้ค่าซ่อมแซมที่จำเลยออกค่าซ่อมแซมเรือนไปได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  668


       3.  เป็นสัญญาที่อาจมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้

       4.  เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ฝาก    โดย

                       4.1  ผู้ฝากทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ฝากแต่อย่างใด

                       คำพิพากษาฎีกาที่  4835/2540  โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป  และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้วรถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์  หรือ หากเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้ให้ช่าซื้อในสภาพเดิม  ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยจนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก  จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้

                   คำพิพากษาฎีกาที่  800/2498  ในเรื่องสัญญาฝากทรัพย์นั้นผู้ฝากย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินที่ตนฝากจากผู้รับฝากได้เสมอไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินว่าเป็นของผู้ฝากจริงหรือไม่

                            4.2  หากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ที่ฝากโดยไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้รับฝาก  ดังนี้  ผู้ฝากทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ฝากยังคงต้องรับผลในความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์นั้น 

                         คำพิพากษาฎีกาที่  1211/2508  จำเลยในฐานะผู้รับฝากทำการรับฝากให้เปล่าโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก  ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนรักษาทรัพย์สินที่รับฝากไว้เสมือนเช่นได้ประพฤติปฏิบัติในกิจการของตนเอง ตาม ปพพ.. 659 แล้ว  จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฝาก

       5.  เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ฝาก

    6.   ป็นสัญญาที่ผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์ไว้ในอารักขาของตนแล้วจะคืนให้  โดยแยกพิจารณาได้  ดังนี้ 


               6.1  ผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินที่รับฝากไว้ในอารักขาแห่งตน (607/2521,  331/2524 ,685/2512 )  

                        คำพิพากษาฎีกาที่  685/2512  กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้  และของกลางยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่า  ระบุชื่อสัญญาว่า สัญญาจ้างเฝ้ารักษา  มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลาง โดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญา  ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตราย  ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหาย  หรือเป็นอันตรายระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา  กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆ  ก็ได้  แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้   ดังนี้  วินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาฝากทรัพย์  เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่กับกรมป่าไม้ผู้จ้าง  ผู้รับจ้างเป็นเพียงเฝ้ารักษาระวังมิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ  ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม  ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในอารักขาแห่งตน 

                       คำพิพากษาฎีกาที่  607/2521  (ประชุมใหญ่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากัน  โดยกรมป่าไม้โจทก์มอบไม้ของกลางให้จำเลยจัดการขนย้ายจากที่แห่งหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย  และจำเลยต้องเก็บรักษาไม้ของกลางไว้เป็นการชั่วคราวในอารักขาแห่งตน ดังนั้น  วินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการยอมให้จำเลยครอบครองไม้ของกลางแทนโจทก์  เข้าลักษณะฝากทรัพย์ 

            6.2  ผู้รับฝากตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินที่รับฝาก (624/2553)

                   คำพิพากษาฎีกาที่  455/2518  ขายข้าวเปลือกในยุ้งที่มีอยู่ 30 เกวียน ผู้ขายรับฝากข้าวเปลือกนั้นไว้ต่อไป   กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว  ผู้ขายขายข้าวให้แก่ผู้อื่นและปฏิเสธไม่เคยขายข้าวและรับฝากข้าวเปลือก    เป็นความผิดฐานยักยอก   ตาม ป.อ.ม.352


       ผลแห่งสัญญาฝากทรัพย์   มีดังนี้

       1.  หน้าที่ของผู้รับฝาก มีดังนี้

             1.1  หน้าที่สงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝาก  แบ่งออกเป็น

                     1.1.1  หน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการสงวนรักษาทรัพย์ที่ฝาก(.659)  

                                  คำพิพากษาฎีกาที่  1211/2508  จำเลยในฐานะผู้รับฝากทำการรับฝากให้เปล่าโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก  ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนรักษาทรัพย์สินที่รับฝากไว้เสมือนเช่นได้ประพฤติปฏิบัติในกิจการของตนเอง ตาม ปพพ.. 659 แล้ว  จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฝาก

                            คำพิพากษาฎีกาที่  506/2472  รับฝากทรัพย์ไว้โดยไม่มีบำเหน็จ  เมื่อถูกคนร้ายลักทรัพย์นั้นไป  ตนไม่นำสืบว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วต้องรับผิดต่อผู้ฝาก 

                            คำพิพากษาฎีกาที่  1801/2520  รับฝากรถยนต์คืนละ 5 บาท ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังเช่นวิญญูชน  รวมทั้งฝีมือพิเศษเฉพาะการ  รถยนต์หายไป  ผู้รับฝากนำสืบไม่ได้ว่าหายไปเพราะเหตุใด ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อขาดความระมัดระวังจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์

                            โดยผู้รับฝากจะต้องใช้ระดับความระมัดระวังในการสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝาก ดังนี้

                               1)  กรณีฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก
                                                 - ผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์ซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นที่เคยประพฤติในกิจการของตนเอง   
                                                    คำพิพากษาฎีกาที่  1861/2522    การมอบรถยนต์และกุญแจรถยนต์ให้แก่พนักงานของภัตตาคารระหว่างที่ลูกค้ารับประทานอาหารในภัตตาคาร  และพนักงานของภัตตาคารก็ขับรถไปจอดในที่จอดรถซึ่งเป็นถนนสาธารณะหน้าภัตตาคารแล้วเก็บกุญแจรถไว้พร้อมทั้งมีใบรับฝากมอบให้ลูกค้าไว้  ดังนี้ ถือเป็นการรับฝากทรัพย์แล้ว  หากต่อมารถหาย และไม่ได้ความว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังเสมือนการรักษารถยนต์ของจำเลยเอง ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้ราคารถให้แก่โจทก์

                                2)  กรณีฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝาก

                                                   - ผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง   
                                             
                          3)  กรณีฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝาก  และผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีพอย่างนั้น

                                            - ผู้รับฝากจะต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือในการดูแลรักษาทรัพย์ที่ฝากในระดับธรรมดาของผู้ที่ประกอบกิจการหรืออาชีพอย่างนั้น  พึงจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้

                                                  คำพิพากษาฎีกาที่  2920/2522  จำเลยเก็บรักษาลำไยในห้องเย็นของจำเลย   จำเลยเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าห้องเย็น  ต้องใช้ความระมัดระวังและฝีมืออันเป็นธรรมดาและสมควรจะต้องใช้ในกิจการห้องเย็น จำเลยใช้ความเย็นไม่พอลำไยเน่าเสีย  จำเลยต้องใช้ค่าเสียหาย

                                       1.1.2  หน้าที่ไม่ใช้สอยทรัพย์ที่รับฝาก หรือ  เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือ เก็บรักษา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ฝาก(.660)

                                               - หากผู้รับฝากฝ่าฝืนหน้าที่ตาม มาตรา 660  และทรัพย์สินที่ฝากนั้นเกิดสูญหายหรือเสียหายไป ดังนี้ แม้ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากเหตุสุดวิสัย  แต่ผู้รับฝากก็ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น   เว้นแต่ พิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรความเสียหายก็ยังคงต้องเกิดกับทรัพย์สินที่ฝากอยู่นั่นเอง   
                                  
                                       1.1.3  หน้าที่ต้องรีบบอกกล่าวแก่ผู้ฝากในกรณีที่บุคคลภายนอกได้ฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ฝากหรือยึดทรัพย์สินนั้น  (. 661)

                                        - หากผู้รับฝากฝ่าฝืนหน้าที่ ฯ จนทำให้ผู้ฝากได้รับความเสียหาย  ดังนี้  ผู้รับฝากจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฝาก  
   
                       1.2   หน้าที่คืนทรัพย์ซึ่งรับฝาก   แยกพิจารณาได้  ดังนี้

                                 1.2.1  ระยะเวลาในการคืนทรัพย์ซึ่งฝาก(.662,663,664)  ผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ในเวลา ดังนี้

                                                  1)  คืนเมื่อครบกำหนด  (.662) 
                                                     (ยกเว้น มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้)

                                               2)  คืนเมื่อใดก็ได้  (ม. 664)  

                                                 3)  คืนเมื่อผู้ฝากเรียกคืนในเวลาใด ๆ  (ม. 663)

                               1.2.2  บุคคลที่ผู้รับฝากต้องส่งคืนทรัพย์(.665)  ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้

                                             1)  บุคคลที่เป็นผู้ฝาก       
         
                                                2)  บุคคลที่ผู้ฝากระบุนามไว้ 

                                                3)  บุคคลตามคำสั่งของผู้ฝาก

                                              4)  บุคคลที่เป็นทายาทของผู้ฝาก(กรณีที่ผู้ฝากถึงแก่ความตาย)

                             1.2.3  การคืนดอกผลอันเกิดจากทรัพย์ซึ่งฝาก  (. 666)

                                         - ผู้รับฝากจำต้องส่งมอบพร้อมไปกับทรัพย์สินที่ฝาก
                
                               1.2.4  สถานที่คืนทรัพย์ (ม.324)  แยกพิจารณาได้  ดังนี้

                                     1) กรณีมีการตกลงกันในสัญญาฝากทรัพย์ว่าจะ
ต้องคืนทรัพย์สินที่ฝากกัน ณ ที่ใด  ดังนี้  ก็ให้เป็นไปตามข้อตกลง

                                  2) กรณีไม่มีการตกลงกันว่าจะต้องคืนทรัพย์สินที่ฝากกัน ณ ทีใด  ดังนี้  ผู้รับฝากต้องคืน ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาที่ก่อให้เกิดหนี้(ม.324)
        
       
       2.  สิทธิของผู้รับฝาก  (. 670)

             - ผู้รับฝากมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์ที่รับฝากไว้ได้ จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาที่ค้างชำระแก่ตนเกี่ยวด้วยการฝากทรัพย์นั้น
        
       3.  หน้าที่ของผู้ฝาก (.667,668,669)   มีดังนี้

                     3.1  หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์ซึ่งฝาก(.668)
                              (แต่ทั้งนี้  คู่สัญญาอาจจะตกลงให้ผู้รับฝากเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็ได้)

                       3.2  หน้าที่เสียค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก  (.667)  
                          (แต่ทั้งนี้  คู่สัญญาอาจจะตกลงยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมาตรานี้ก็ได้)

                     3.3  หน้าที่เสียบำเหน็จค่าฝาก   โดยผู้ฝากจะต้องชำระบำเหน็จค่าฝากในระยะเวลา ดังนี้

                                 3.3.1  กรณีมีการตกลงกันว่าจะชำระบำเหน็จค่าฝากกันเวลาใด
                                                 -  ให้ชำระเมื่อสิ้นระยะเวลานั้น   

                              3.3.2  กรณีไม่มีการตกลงกันไว้ว่าจะชำระบำเหน็จค่าฝากกันเมื่อใด  ให้ชำระบำเหน็จค่าฝาก ดังนี้

                                            1)  หากมีจารีตประเพณีว่าจะชำระกันเมื่อใด
                                                  - ให้ชำระกันตามจารีตประเพณีนั้น

                                            2)  หากไม่มีจารีตประเพณีว่าจะชำระกันเมื่อใด
                                                 - ให้ชำระเมื่อคืนทรัพย์(ม.669) 

        
       4.  ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์   อาจสิ้นสุดได้ในกรณีดังต่อไปนี้

                       4.1  สิ้นสุดเมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันในสัญญา  

                       4.2  สิ้นสุดเมื่อได้มีการส่งคืนทรัพย์ที่ฝาก
 
                       4.3  สิ้นสุดเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา

                       4.4  สิ้นสุดเมื่อทรัพย์ซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายไป  

                       4.5  สิ้นสุดเมื่อผู้รับฝากตาย

        
       5.  อายุความ  แยกพิจารณาได้ดังนี

                       5.1  อายุความฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับการฝากทรัพย์(.671)
                                   -  มีกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่สัญญาฝากทรัพย์สิ้นสุดลง

                                  ซึ่งค่าเสียหายที่จะฟ้องเรียกร้องกันได้แก่       
 
                                           5.1.1  การเรียกบำเหน็จค่าฝากทรัพย์

                                          5.1.2  ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์(ม.667 และ ม.668 )

                                       5.1.3  ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ (ตาม ม.659 , ม.660  และ ม.661)

                       5.2  อายุความสำหรับการฟ้องร้องเพื่อให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์  (. 193/30และ ม. 193/12) 
                                  -  มีกำหนดอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้


                              คำพิพากษาฎีกาที่  3517/2525  เมื่อทรัพย์ที่ฝากสูญหายไป  ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์  การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้  มิใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ ตาม ม.671 และไม่มีบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ปพพ..164

ความคิดเห็น

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. มีประโยชน์มากเลยครับ ^^

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2561 เวลา 07:52

    ขอบคุณมากครับผม 😊😊😊

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณมากค่ะ เป็นบทความที่ดีอ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

    ตอบลบ
  5. ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณค่ะอาจารย์ :)

    ตอบลบ
  6. เป็นแหล่งความรู้ที่ดีคับ

    ตอบลบ
  7. ดีมากครับ อยากให้ทำบทความออนไลน์แบบนี้ต่อไปครับ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. ได้ความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

    ตอบลบ
  10. ขอบคุณค้าบบบบบบบวบบบ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณค้าบบบบบบบวบบบ

    ตอบลบ
  12. ขอบคุณค้าบบบบบบบวบบบ

    ตอบลบ
  13. ขอบคุณค้าบบบบบบบวบบบ

    ตอบลบ
  14. ขอบคุณค้าบบบบบบบวบบบ

    ตอบลบ
  15. ได้ความรู้เยอะมากครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  16. ขอบคุณค่ะ ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  17. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  18. เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  19. ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะอาจารย์

    ตอบลบ
  20. เป็นความรู้เพิ่มเติมที่ดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  21. ได้ประโยชน์มากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  22. ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    ตอบลบ
  23. ขอบคุณครับอาจารย์

    ตอบลบ
  24. เนื้อหาดีมากครับ

    ตอบลบ
  25. ขอบคุณค่ะ เนื้อหาดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  26. ขอบคุณค่ะอาจารย์

    ตอบลบ
  27. อยากทราบว่าผู้รับฝากทรัพย์ทั่วไปกับผู้รับฝากทรัพย์ที่เป็นเงินนั้น มีสิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่ตนรับฝากไว้แตกต่างกันไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่รับฝากของผู้รับฝากทรัพย์ทั่วไปกับผู้รับฝากทรัพย์ที่เป็นเงินตรานั้นมีความแตกต่างกันค่ะ โดยสามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
      ก) กรณีทรัพย์ที่รับฝากเป็นทรัพย์ทั่วไป ดังนี้ หากผู้ฝากไม่ได้อนุญาต ผู้รับฝากก็จะนำทรัพย์ที่ตนรับฝากไว้ออกใช้สอยไม่ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 660
      ข) กรณีทรัพย์ที่รับฝากเป็นเงินตรา ดังนี้ ผู้รับฝากมีสิทธินำเงินที่รับฝากออกใช้สอยได้ แต่ต้องคืนเงินนั้นให้ครบจำนวนด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 672 ดังนั้น ผู้รับฝากเงินจึงมีสิทธินำเงินที่ตนรับฝากไว้ไปใช้สอยได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ฝากแต่อย่างใดค่ะ

      ลบ
  28. ญาติของผมได้นำรถยนต์ไปจอดไว้ที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง โดยเสียค่าใช้จ่ายซึ่งทางปั๊มอ้างว่าเป็นค่าที่จอดรถวันละ 150 บาท และให้ญาติของผมทิ้งกุญแจรถไว้ให้โดยทางปั๊มอ้างว่าเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายรถ และเมื่อญาติของผมทำธุระเสร็จก็รีบไปรับรถยนต์คันนั้นกลับคืนมาโดยได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของรถยนต์คันดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีรอยถูกงัดแงะและวิทยุเทปที่ติดกับรถยนต์นั้นก็หายไปด้วย ญาติของผมจึงเรียกร้องให้ทางปั๊มรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ทางปั๊มปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบอ้างว่าสัญญาที่ทำกันนั้นเป็นสัญญาเช่าที่จอดรถไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ทางปั๊มจึงไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ อยากทราบว่าญาติของผมจะเรียกร้องให้ทางปั๊มรับผิดได้หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การที่ญาติของผู้ถามได้นำรถยนต์ไปฝากไว้ที่ปั๊มน้ำมันแถวบ้านเสียค่าจอดรถวันละ 150 บาท และทางปั๊มได้ให้ญาติของผู้ถามทิ้งกุญแจรถไว้ให้โดยทางปั๊มอ้างว่าเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายรถ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้ ดังนี้ จึงถือได้ว่าข้อตกลงในการจอดรถดังกล่าวเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ปพพ.ม. 657 แล้ว และถือเป็นการฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จค่าฝาก ซึ่งผู้รับฝากจะต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ผีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้นตามมาตรา 659 วรรคสอง ดังนั้น การที่รถยนต์ถูกงัดแงะโดยวิทยุเทปที่ติดกับรถยนต์นั้นหายไป จึงถือว่าทางปั๊มไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษารถยนต์ที่ฝากและไม่ใช้ผีมือเพื่อสงวนรถยนต์ของผู้ร้องนั้นเหมือนวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ เพราะทางปั๊มซึ่งเป็นผู้รับฝากรถยนต์นั้นจะต้องดูแลรักษารถไม่ให้สูญหายหรือเกิดความเสียหาย ดังนั้น เมื่อรถยนต์ที่ฝากไว้ได้รับความเสียหาย ทางปั๊มจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ค่ะ

      ลบ
  29. ในกรณีที่ผู้ฝากเอารถจักรยานยนต์ไปฝากไว้กับผู้รับฝากโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และไม่ได้อนุญาตให้ผู้รับฝากใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวแต่อย่างใด แต่เมื่อผู้รับฝากได้รับรถจักรยานยนต์ไปแล้วกลับนำรถจักรยานยนต์คันนั้นไปใช้เป็นรถจักรยานยนต์รับจ้าง รับส่งคนโดยสารในซอยแถวบ้านพักของตนเอง ต่อมาวันหนึ่งขณะขับรถจักรยานยนต์มาตามทางเพื่อจะหารับผู้โดยสาร ปรากฏว่าผู้รับฝากเกิดปวดท้องอย่างกะทันหัน จึงได้จอดรถไว้หน้าตลาดเพื่อจะเข้าไปทำธุระในห้องน้ำสาธารณะ และเมื่อทำธุระเสร็จก็เดินมาที่หน้าตลาดเพื่อขับไปหารับคนโดยสารต่อไป แต่พอมาถึงหน้าตลาดก็พบว่ารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวถูกไฟไหม้เพราะฟ้าผ่าลงมาทำให้ได้รับความเสียหายหมดทั้งคัน ต่อมาผู้ฝากรู้ว่ารถถูกไฟไหม้เสียหายหมดทั้งคันจึงเรียกให้ผู้รับฝากชดใช้ค่าเสียหาย แต่ผู้รับฝากปฏิเสธไม่ยอมชดใช้โดยอ้างว่าตนรับฝากรถไว้โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก ซึ่งตนก็ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเองแล้ว และความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยด้วย ตนจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ อยากทราบว่าข้อต่อสู้ของผู้รับฝากฟังขึ้นหรือไม่คะ และเพราะเหตุใด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การรับฝากรถโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากนั้น กฎหมาย(มาตรา 659 วรรคแรก)ได้กำหนดหน้าที่ของผู้รับฝากไว้ว่าผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่ตนรับฝากไว้นั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง คือ ระดับในการใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาทรัพย์ที่ฝากนั้นจะต้องไม่น้อยไปกว่าการสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมากไปกว่าการสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเองแต่อย่างใด ดังนั้น การที่ผู้รับฝากได้จอดรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไว้ที่หน้าตลาดเพื่อไปเข้าห้องน้ำ จึงไม่เป็นการประพฤติผิดหน้าที่ตามมาตรา 659 ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ถึงแม้ผู้รับฝากจะไม่ได้ผิดหน้าที่สงวนทรัพย์สินตามมาตรา 659 ก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าผู้รับฝากผิดหน้าที่ตามมาตรา 660 อยู่ ทั้งนี้เพราะผู้รับฝากได้นำรถจักรยานยนต์ที่รับฝากนั้นออกใช้สอยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ฝากก่อน ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่ฝากนั้นได้รับความเสียหาย แม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัยก็ตาม แต่ก็ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรรถจักรยานยนต์นั้นก็คงต้องเสียหายอยู่นั่นเอง ดังนั้น ในกรณีนี้แม้เป็นกรณีการรับฝากโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากก็ตาม แต่ผู้รับฝากก็คงต้องรับผิดจากการผิดหน้าที่ของผู้รับฝากดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหากผู้รับฝากไม่ผิดหน้าที่ตามมาตรา 660 คือไม่นำรถออกใช้สอยแล้ว ความเสียหายก็อาจไม่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ที่ฝากนั่นเอง
      สรุป ข้อต่อสู้ของผู้รับฝากฟังไม่ขึ้น โดยผู้รับฝากยังคงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ฝากอยู่ค่ะ

      ลบ
  30. Lucky Club Casino Site » 100% UP TO €500 Bonus
    Join and keep up with the latest news and promotions for Lucky Club Casino, the UK's best 카지노사이트luckclub online casino with a 100% bonus up to €500.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น